วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559


 
      อินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Indonesia)หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Republik Indonesia)เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor)
 
  • แผนที่
 
 

  • ประวัติศาสตร์

อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2.1 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย
เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย
ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอิเรียนตะวันตกและให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506
 
• เมืองหลวง
 
Jakarta Pictures-3.jpg
จาการ์ตา (อินโดนีเซีย: Jakarta ป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนเกาะชวาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ มีประชากร 8.3 ล้านคน (พ.ศ. 2543) ในอดีตมีชื่อว่า บาตาวียา หรือปัตตาเวีย (Batavia)
 
 • พื้นที่ประเทศ
 1,890,754 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย กว่า    17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
  • หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
  • หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
  • หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
  • อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี

• ประชากร

จำนวนประชากรทั้งหมด 251,170,193 คน โดยการประมาณการของสหประชาชาติ
 
 

• การเมืองการปกครอง

ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศ
 
 

• ภาษาราชการ

ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia 
 

• เชื่อชาติ

ณ ที่นั้น ความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ประมาณ 300 กว่ากลุ่มชาติพันธุ์ และภาษาพื้นเมือง และสำเนียงท้องถิ่น ที่แตกต่างกันถึง 742 ภาษา ชาวอินโดนีเซียส่วนมากสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าทีพูดตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภาษาของกลุ่มชนดังกล่าวสามารถที่จะสืบค้นย้อนไปถึง ภาษาโปรโต-ออสโตรเนเชียน ซึ่งเป็นไปได้ว่ามีต้นกำเนิดในไตหวัน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มชนเผ่าที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง คือ เผ่าเมลาเนเชียน ผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะปาปัว ภาคตะวันออก ของประเทศอินโดนีเซีย ชาวชวา คือ กลุ่มชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ซึ่งมีอยู่ราว 42% ของจำนวนประชากร เป็นกลุ่มชนชั้นนำทางการเมือง และวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนชาติหลักๆ ที่มีจำนวนพอๆกับชาวชวา เช่น ชาวซุนดา ชาวมาเล และชาวมาดูรา จิตสำนึกของความเป็น ชาวอินโดนิเซีย จะขนานควบคู่ไปกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่นตนเองอย่างเหนียวแน่น ความตึงเครียดทางสังคม ศาสนา และเชื้อชาติ เป็นสิ่งที่เคยกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง อันน่าสะพรึงกลัวมาแล้ว ชาวอินโดนิเซียเชื้อสายจีน เป็นชุนกลุ่มน้อยในประเทศ แต่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่ง มีจำนวนราวๆ 3-4 % ของจำนวนประชากรอินโดนีเซีย
  

• ศาสนา

 ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ โดยชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม และบางส่วนนับถือศาสนาฮินดู ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเกาะบาหลี
 

• ตราสัญลักษณ์

 
 
 

• อาหาร

กาโด กาโด (Gado Gado) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของอินโดนีเซียคล้ายกับสลัดแขก ซึ่งจะประกอบด้วยถั่วเขียว มันฝรั่ง ถั่วงอก เต้าหู้ ไข่ต้มสุก กะหล่ำปลี ข้าวเกรียบกุ้ง รับประทานกับซอสถั่วที่มีลักษณะเหมือนซอสสะเต๊ะ อย่างไรก็ตาม ด้วยเครื่องสมุนไพรในซอส อาทิ รากผักชี หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ทำให้เมื่อรับประทานแล้วจะไม่รู้สึกเลี่ยนกะทิมากจนเกินไป และยังเป็นเหมือนอาหารสำหรับคนรักสุขภาพได้อีกด้วย
 
 

• สกุลเงิน

 
 ประเทศอินโดนีเซีย หรือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ใช้สกุลเงิน “รูเปียห์” (Indonesian Rupiah : IDR) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1,000 รูเปียห์ เท่ากับประมาณ 3 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1,000 รูเปียห์, 2,000 รูเปียห์, 5,000 รูเปียห์, 10,000 รูเปียห์, 20,000 รูเปียห์, 50,000 รูเปียห์ และ 100,000 รูเปียห์
 
 

• แรงงานขั้นต่ำ

 
 

• ชุดการแต่งกาย

 เกบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว
       ผ่าหน้า   
กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก ส่วนการ
        แต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวหรือเตลุก เบสคาพ (Teluk Beskap) ซึ่งเป็น
             การแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาด
 
เตลุก เบสคาพ - ประเทศอินโดนิเซีย 

 
  
เกบาย่า - ประเทศอินโดนิเซีย

 

• อาหาร

วัดบุโรพุทโธ มหาเจดีย์ สิ่งมหัศจรรย์แห่งอินโดนีเซีย

 เที่ยวอินโดนีเซีย เที่ยววัดบุโรพุทโธ
      แม้จะไม่ได้อยู่ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก แต่สำหรับคนอินโดนีเซียแล้ว วัดบุโรพุทโธถือเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุด โดยตั้งอยู่ที่เมืองยอร์กยาการ์ตา หรือ ยอกยา บนเกาะชวา ถูกสร้างขึ้นก่อนปราสาทนครวัดของกัมพูชาประมาณ 300 ปี ตั้งบนเนินเขาที่กว้างใหญ่ โดยจำลองจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งแม่น้ำคงคาและแม่น้ำยมนาไหลมาบรรจบกัน ซึ่งเป็นต้นกำเนินแห่งศาสนาพุทธ
วัดบุโรพุทโธ จึงถือเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของศาสนาพุทธลัทธิมหายานที่มีความเก่าแก่ และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก โดยสถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงความเป็นอัจฉริยะสูงสุดทางศิลปะสมัยไศเลนทรา ที่แตกต่างจากโบราณสถานทุกแห่งในชวา และยังเป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธมาอย่างช้านาน โดยความมหัศจรรย์ของบุโรพุทโธนี้ เกิดจากความคิดที่สร้างสรรค์ด้วยรูปแบบของศิลปะจากความคิดของช่าง โดยการสร้างตามแบบศิลปะชวาภาคกลาง ที่ผสานงานศิลปะระหว่างอินเดียและอินโดนีเซียได้อย่างกลมกลืน

บาหลี ดินแดนแห่งเทพเจ้าและภูเขาไฟ อัญมณีแห่งมหาสมุทรอินเดีย

เที่ยวอินโดนีเซีย บาหลี
สำหรับนักท่องเที่ยวแล้ว บาหลีเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงสุด ด้วยความสวยงามของภูมิประเทศที่หลากหลาย ที่มีลักษณะภูมิศาสตร์ของภูเขาไฟ กับนาข้าวแบบขั้นบันได แถมยังเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสายของบาหลี
บาหลี ไม่เพียงแต่มีภูมิประเทศที่สวยงามเป็นอันดับต้นๆเท่านั้น ยังเด่นในเรื่องของศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมและศาสนามากกว่าพันปี โดยผสมผสานความเชื่อของชนเผ่าดั้งเดิมและอารยธรรมสำคัญถึง 3 ศาสนา อย่างในด้านของศิลปะโดยการแสดงออกทางการร่ายรำของบาหลี โดยมากอิงมาจากวรรณคดีอมตะของอินเดีย และแหล่งความเชื่อที่ยังคงเป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์และสวยงามที่สุดอีกแห่งหนึ่งของบาหลี นั่นคือวัดเบซากีห์ รวมถึงถนนที่โดดเด่นไม่เหมือนใครโดยมีสถาปัตยกรรมแบบกลุงลุงที่มีความงดงามมากแบบหนึ่ง

อุทยานแห่งชาติโคโมโด มังกรโคโมโด ความงามที่แฝงอันตราย

เที่ยวเกาะโคโมโด ทัวร์อินโดนีเซีย
อุทยานแห่งชาติโคโมโด ตั้งอยู่บนเกาะภูเขาไฟ ประกอบด้วยสามเกาะหลัก คือ โคโมโด ริงกา ปาดาร์และเกาะเล็กๆอีกมากมาย ด้วยระบบนิเวศน์ที่หลากหลาย เป็นที่อยู่ของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ที่เราเรียกกันว่ามังกรโคโมโด ซึ่งสัตว์เหล่านี้ไม่สามารถหาได้จากที่ใดในโลก จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ แม้กระทั่งบรรดานักวิทยาศาสตร์เอง ก็แวะเวียนเข้ามาศึกษาทฤษฎีของวิวัฒนาการที่หลากหลายและสลับซับซ้อน

• เทศกาล

 
      เทศกาลสาดสี (Holi festival) ที่ฉลองกันทั่วประเทศอินเดีย เป็นเทศกาลของชาวฮินดู จัดเป็นประจำทุกปี ปีละสองวันในช่วงเดือนมีนาคม เทศกาลนี้เรียกอีกอย่างว่า“เทศกาลแห่งสีสัน” โดยทุกคนจะสาดผงสีใส่กันอย่างสนุกสนาน หรืออาจจะสาดน้ำด้วยเช่นกัน
เทศกาลสาดสี อินเดีย
เทศกาลเริ่มในช่วงต้นของฤดูใบไม้ผลิ ในธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงจากหนาว ไปเป็นอากาศร้อน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ มีผลต่อมนุษย์ต่อสุขภาพและต่อจิตใจของมนุษย์ เพราะเมื่ออากาศ เริ่มเปลี่ยนจากหนาวมาเป็นร้อน ผู้คนก็จะไม่สบายเป็นหวัดกันเพราะอากาศเป็นเหตุ โดยเบื้องหลังเทศกาล นี้มิใช่เพื่อโปรยสีกัน เพื่อสนุกสนานอย่างเดียวเท่านั้น แต่คนโบราณได้แฝงเอาธรรมชาติบำบัดโรค เอามาซ่อนไว้ในความสนุกสนานไว้ด้วย โดยใช้ผงสีจากพืชและพืชสมุนไพรธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีเหลือง สีคราม สีเขียว มาโปรยใส่กันทำนองกายบำบัดเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายด้วย สนุกและสบายตัวด้วย คิดได้ไงนี่!
 

• คำทักทาย

 
 
คำศัพท์ 
คำอ่าน 
สวัสดีตอนเช้าเซลามัทปากิ
สวัสดีตอนเที่ยงเซอลามัตเซียง
สวัสดีตอนบ่ายเซอลามัตโซเร
สวัสดีตอนเย็นเซลามัตมาลัม
ราตรีสวัสดิ์ เซลามัตทิดัวระ
คุณสบายดีไหมอพาร์ คาบาร์
พบกันใหม่ซัมไพ จำพา ลากิ
ขอบคุณ เทริมากาสิ
นอนหลับฝันดี มิมพิ ยัง อินดา... 
เชิญ สิลาคาน 
ไม่เป็นไร ทิดัก อพา อพา
ยินดีที่ได้รู้จักเซลามัน เบอร์จัมพา เดนกัน อันดา
ลาก่อนบาย บาย
ดูแลตัวเองนะ เมม-เม-ลิ-ฮา-รา -จิ-วา
ใช่ ยา, เบอร์ทูล 
ไม่ใช่ บูคัน
อากาศร้อนมากดินกิน เซกาลิ
อากาศหนาวมาก พานัส เซกาลิ

• คำบอกรัก

 ซายาจินตาปาดามู (Saya cintapada mu)
 

• นับตัวเลข

 
คำศัพท์
คำอ่าน 
หนึ่งซาตู
สองดัว
สามทิกา
สี่เอ็มแพด
ห้าลิม่า
หกอินาม
เจ็ดทูจู
แปดดีลาแพน
เก้าแซมบิแลน
สิบซีพูลู
วันฮาริ
สัปดาห์มินกู
เดือนบูลาน 
ปีทาฮูน
กี่โมงแล้ว แจม แบลาพา เซการัง
ชั่วโมงแจม
นาทีเมนิด
 
 
 • เพลงประจำชาติ
 
 

อินโดนีเซีย รายา (Indonesia Raya)
แปลว่า “อินโดนีเซียอันยิ่งใหญ่”
Indonesia, tanah airku, Tanah tumpah darahku. 
Di sanalah aku berdiri, 
Jadi pandu ibuku. Indonesia, kebangsaanku, 
Bangsa dan tanah airku. Marilah kita berseru, 
“Indonesia bersatul”
Hiduplah tanahku, Hiduplah neg’riku,
Bangsaku, rakyatku, semuanya. Bangunlah jiwanya,
Bangunlah badannya Untuk Indonesia Raya.
(*ประสานเสียง)
Indonesia Raya, merdeka, merdeka   Tanahku, 
neg’riku yang kucinta.   Indonesia Raya, merdeka, 
merdeka   Hiduplah Indonesia Raya.    (*ซ้ำ)